Verbs ( คำกริยา )
คำกริยาเป็นการบอกอาการ หรือการกระทำ ( action ) หรือความมีอยู่ เป็นอยู่ ( being ) หรือ สภาวะความเป็นอยู่ ( state of being )
การกระทำ
|
ความมีอยู่ ,เป็นอยู่
|
สภาวะความเป็นอยู่
|
He eats
|
He is a boy.
|
He seemed tired.
|
He went home
|
She has a beautiful house.
|
This cake tastes good.
|
การจำแนกชนิดของคำกริยา มีการแบ่งไว้หลายวิธีสุดแต่จะคำนึงอะไรเป็นหลัก เช่น
1. แบ่งตามหน้าที่โดยยึดเป็นกรรม ( Object ) เป็นเกณฑ์มี 2 ชนิด
|
2. แบ่งตามหน้าที่ เป็นคำกริยาหลัก (Main Verbs) และคำกริยาช่วย ( Auxiliary Verbs )
|
3. แบ่งตามหน้าที่เป็นคำกริยาแท้ ( Finite Verbs) และกริยาไม่แท้ ( Non-finite Verbs)
- Finite Verbs ( คำกริยาแท้ ) ทำหน้าที่แสดงกริยาอาการที่แท้จริงของประธานในประโยคมีการเปลี่ยนรูปไปตามSubject , Tense, Voiceและ Mood เช่น
Subject
I go to school every day He goes to school every day They go to school every day |
Tense
He goes to school every day He went to school yesterday He's going to school tomorrow | |
Voice
Someone killed the snake. ( Active ) The snake was killed . ( Passive ) |
Mood
I recommend that he see a doctor. (ไม่ใช่่he sees ) If I were you ,I would not do it. ( ไม่ใช่ I was ) |
- Non-finite Verbs ( คำกริยาไม่แท้ )หรือ Verbal เป็นคำที่มีรูปจากคำกริยาแต่ไม่ได้ทำหน้าที่คำกริยาแท้ มี 3 รูปคือ
a. Infinitives เป็นคำกริยาที่อยู่ในรูปกริยาช่องที่ 1 นำหน้าด้วย to ทำหน้าที่ noun , adjective และ adverb
He lacked the strength to resist.
( to resist ทำหน้าที่ adjective) We must study to learn. ( to learn ทำหน้าที่ adverb)
b. Gerunds เป็นคำกริยาเติม ing ทำหน้าที่เป็นคำนาม ( noun ) เช่น
They do not appreciate my singing.
พวกเขาไม่ชอบการร้องเพลงของฉัน ( singing เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม ) I like swimming. ฉันชอบว่ายน้ำ. ( swimming เป็นกรรมของ like )
c. Participles คำกริยาที่เติม ing หรือ กริยาช่องที่ 3 ที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ ( Adjective ) มี 2 รูปแบบคือ
* Present Participles เป็นคำกริยาที่เติม ing เช่น
The crying baby had a wet diaper. เด็กที่ร้องอยู่นั้นผ้าอ้อมเปียก ( crying เป็นคำคุณศัพท์ขยาย baby )
* Past Participles เป็นคำกริยาช่องที่3 เช่น
The broken bottle is on the floor. |
4. แบ่งตามโครงสร้างโดยยึดการเปลี่ยนรูปของคำ ( conjugation ) ได้แก่
- Regular Verbs ( คำกริยาปกติ ) เป็นคำกริยาที่เติม ed เมื่อเป็น past และ past participle เช่น
|
- Irregular Verbs ( คำกริยาอปกติ ) เป็นคำกริยาที่มีรูป past และ past participle ต่างไปจากรูปเดิมหรือคงรูปเดิม เช่น
|
Verb Tenses ( กาล ) เป็นรูปแบบของคำกริยาที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับเวลาที่เกิดขึ้น ความต่อเนื่องของการกระทำ ความเสร็จสมบูรณ์ของการกระทำ
I. รูปของ Verb Tenses
คำว่า Verb Tenses ตามไวยากรณ์เป็นการรวมกันระหว่าง
Tenses ที่เหลือนอกจาก 2 รูปแบบข้างต้นได้แก่
เมื่อสรุปรวมแล้ว Verb Tense มีทั้งหมด 12 รูป
* หมายเหตุ progressive คือ continuous
II. โครงสร้าง Verb Tenses ในประโยค
โครงสร้างพื้นฐานของTense ในประโยค positive sentence ประกอบด้วย
subject + auxiliary verb + main verb
auxiliary verb ใช้ในทุก tense โดยใน simple present และ simple past tenses นั้น auxiliary verb ใช้ในการเน้นความ ตารางต่อไปนี้เป็นการแสดงโครงสร้างการใช้ Tense ใน active voice.
* I did work. ฉันทำงานจริงๆ ( เป็นการเน้น ) เช่นเดียวกับ I do work.
III. Verb Tenses กับ เวลา
เราจะต้องไม่สับสนระหว่างชื่อของ tense กับเวลา เช่น present tense ไม่ได้หมายถึง เวลาปัจจุบัน เสมอไป ตัวอย่าง
I hope it rains tomorrow. ฉันหวังว่าฝนจะตกพรุุ่งนี้
( rains เป็น present simple แต่ใช้ในความหมายเวลาในอนาคต )
หรือ past tense ไม่ได้หมายถึงเวลาในอดีตเสมอไป ตัวอย่าง
If I had some money now, I could buy it . ถ้าฉันมีเงินเดี๋ยวนี้ ฉันจะซื้อมัน
(had เป็น past tense แต่่ใช้ในความหมายเป็นเวลาในปัจจุบัน )
ตารางต่อไปนี้เป็นการสรุปการใช้ Verb Tenses ต่างๆกับ เวลา
ตัวอย่าง verb
คำกริยา (verb) คือ คำที่แสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของประธานของประโยค คำกริยาเป็นส่วนสำคัญของประโยค หากขาดคำกริยาไป คำ หรือกลุ่มคำนั้นจะไม่ถือเป็นประโยค แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ main verb และauxiliary or helping verb (auxiliaries) or modal verb (modals)
1. Main Verb คือ กริยาแท้ หรือกริยาหลักของประโยคซึ่งแบ่งออกเป็น
1.1 Transitive verbs เป็นกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับข้างท้าย หากขาดกรรมรองรับความสมบูรณ์ขาดหายไป
ตัวอย่างประโยค
· We eat fruit before a meal.
· Jane sent her parents a postcard .
· He made a reservation at the hotel in Rome.
· He throws rocks.
1.2 Intransitive verbs เป็นกริยาที่ให้ความสมบูรณ์อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมีกรรมรองรับข้างท้าย แต่อาจมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่างประโยค
o Many birds fly south for the winter.
o Those children walk to school every day.
Alan always swims with his sons.She runs quickly.
1.3 Linking Verb คือ คำกริยาที่เชื่อมประธานกับส่วนเสริมประธานซึ่งอาจเป็นคำนาม หรือ คำคุณศัพท์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน หรือเป็นการขยายความบอกลักษณะ ได้แก่ BE (am, is, are, was, were, being, been), appear, become, grow, prove, remain, seem, turn และคำกริยาที่บ่งบอกประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ look, sound, smell, taste, feel
ตัวอย่างประโยค
· Pai, a popular tourist attraction, is their new home.
· All passengers remain calm.
· They felt happy when their daughter got her Master’s degree.
· Klinton become President of the U.S.A.
· She felt sick during the play.
กริยาบางตัวอาจไม่ได้เป็นกริยาเชื่อมเท่านั้น แต่ใช้ในความหมายอื่นได้ด้วย เช่น
ตัวอย่างประโยค
· He looked serious. (linking verb)
· He looked at the report. (intransitive verb)
2. Auxiliary or Helping Verb (Auxiliaries) or Modal Verb (Modals) คือกริยาช่วยที่ใช้ประกอบคำกริยาแท้ หรือกริยาหลัก ได้แก่ be, have, has, had, can, could, will, would, may, might, must, do, does, did, ought to เป็นต้น คำกริยาเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาช่วย ซึ่งจะอธิบายกริยาช่วยที่สำคัญและพบในข้อสอบบ่อยมีดังนี้
2.1 กริยาช่วยที่ใช้แสดงความสามารถ (ability)
(1) can และ could ใช้ can+verb ใน present/future time และ could+verb ใน past time และใช้ can not (= can’t)+verb หรือ could not (=couldn’t)+verb เพื่อชี้แสดงการไร้ความสามารถ
(2) be able to ใช้ is/am/are able to + verb ใน present time และใช้ was / were able to+verb ใน past time ส่วน will be able to หรือ be going to be able to + verb ใช้ใน future time
2.2 กริยาช่วยที่ใช้ในการขออนุญาตและให้อนุญาต
(1) การขออนุญาต
(2) การให้อนุญาต
หากไม่อนุญาตให้ใช้ not เติมหลังกริยาช่วยเป็น can not, may not, could not
2.3 กริยาช่วยที่ใช้แสดงการบังคับ (obligation) และความจำเป็น (necessary)
(1) should และ ought to ใช้แสดงเชิงบังคับว่าควรจะต้องทำ วิธีใช้คือ
(2) should have และ ought to have ใช้แสดงว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทำ แต่ไม่ได้ทำลงไป
(3) should ยังใช้ในประโยคปฏิเสธหรือคำถาม เช่น
(4) Had better + verb ใช้แสดงความรู้สึกเชิงบังคับว่าควรจะทำ
(5) had better not + verb เพื่อชี้แนะว่าไม่ควรจะทำสิ่งนั้น
(6) Must และ have to ใช้แสดงการบังคับ ข่มขู่ว่าจะต้องทำ หรือต้องไม่ทำ (must not)
2.4 กริยาช่วยที่แสดงความเป็นไปได้ (possibility) และความน่าจะเป็น (probability)
(1) may และ might ใช้ may / might + verb
** หากจะใช้แบบปฏิเสธก็เติม not ท้าย may หรือ might
(2) should และ ought to ใช้แสดงความน่าจะเป็นที่ใกล้จะบรรลุตามความหมาย โดยมีหลัก should / ought to + verb
ตัวอย่างประโยค
(3) should have / ought to have ในรูปอดีต (past time) ใช้ should have/ought to have + Verb 3 (หรือ past participle) เพื่อชี้แสดงความคาดหวังที่ไม่บรรลุผล เช่น
(4) Must ใช้แสดงความน่าจะเป็นที่มีความเป็นไปได้สูงมาก ซึ่งใกล้จะบรรลุผลตามความคาดหวังแล้ว
(5) must have หากเป็น past tense ให้ใช้ must have + Verb 3 หมายถึง จะต้องทำไปแล้วแน่ๆ
2.5 กริยาช่วยวลีที่ใช้แสดงความชอบหรือความต้องการ
(1) would rather + verb
(2) would rather have หากเป็น past time ให้ใช้ would rather have + Verb 3
(3) would rather not ใช้ would rather not + verb เพื่อชี้แสดงความชอบหรือความปรารถนาที่ไม่ทำบางสิ่งบางอย่าง
2.6 กริยาช่วยที่ใช้แสดงความต้องการและความประสงค์ (wants and sires)
(1) would + verb. I would ใน present / future time
(2) would have + Verb3 เมื่อเป็น past time
2.7 กริยาช่วยที่นำมาใช้แบบ causative form
Have, Has, Had ใช้แสดงถึงสิ่งที่เราเองไม่ได้เป็นผู้กระทำ แต่จ้างวานให้คนอื่นทำให้ มีหลักเกณฑ์คือ
** have /get + something + verb3
** have / has + someone + Verb หรือ get / got + someone + Verb
รูปของคำกริยา คำกริยาจะมีรูป 5 รูปดังนี้
Credit.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น